โลก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน ปีก่อน
รัศมี: 6,371 กม.
อายุ: 4.54 พันล้านปี
มวล: 5.972E24 kg
พื้นที่ผิว: 510,072,000 ตร.กม.
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์: 149,600,000 กม.
ประชากร: 7.046 พันล้าน (พ.ศ. 2555)
โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (Dynamic Planet) ในอดีตนักวิทยาศาสตร์ศึกษาโลกแบบแยกส่วน นักธรณีวิทยาศึกษาเปลือกโลกที่เป็นของแข็ง นักสมุทรศาสตร์ศึกษาทะเลและมหาสมุทร นักอุตุนิยมวิทยาศึกษาบรรยากาศ นักชีววิทยาศึกษาสิ่งมีชีวิต ขณะที่นักดาราศาสตร์ศึกษาดาวบนท้องฟ้า แต่เมื่อเกิดปรากฏการณ์เช่น เอลนีโญ ซึ่งเป็นปรากการณ์ที่เกี่ยวเนื่องทั้งแผ่นดิน มหาสมุทร บรรยากาศ สิ่งมีชีวิต และพลังงานจากดวงอาทิตย์ ก็ไม่มีใครหาคำตอบได้ จนกระทั่งไม่กี่ทศวรรษมานี้เอง นักวิทยาศาสตร์ตระหนักได้ว่า การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโลกจะต้องมองโลกให้เป็นระบบ อย่างไรก็ตามในการเขียนตำราเรียนจำต้องเรียงแบบอนุกรม นำเสนอโลกทีละภาคส่วน ดังนี้
โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (Dynamic Planet) ในอดีตนักวิทยาศาสตร์ศึกษาโลกแบบแยกส่วน นักธรณีวิทยาศึกษาเปลือกโลกที่เป็นของแข็ง นักสมุทรศาสตร์ศึกษาทะเลและมหาสมุทร นักอุตุนิยมวิทยาศึกษาบรรยากาศ นักชีววิทยาศึกษาสิ่งมีชีวิต ขณะที่นักดาราศาสตร์ศึกษาดาวบนท้องฟ้า แต่เมื่อเกิดปรากฏการณ์เช่น เอลนีโญ ซึ่งเป็นปรากการณ์ที่เกี่ยวเนื่องทั้งแผ่นดิน มหาสมุทร บรรยากาศ สิ่งมีชีวิต และพลังงานจากดวงอาทิตย์ ก็ไม่มีใครหาคำตอบได้ จนกระทั่งไม่กี่ทศวรรษมานี้เอง นักวิทยาศาสตร์ตระหนักได้ว่า การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโลกจะต้องมองโลกให้เป็นระบบ อย่างไรก็ตามในการเขียนตำราเรียนจำต้องเรียงแบบอนุกรม นำเสนอโลกทีละภาคส่วน ดังนี้
- ธรณีภาค (Lithosphere) เปลือกโลกในส่วนที่เป็นของแข็ง
- อุทกภาค (Hydrosphere) น้ำที่ห่อหุ้มโลก
- อากาศภาค (Atmoshere) บรรยากาศที่ห้อหุ้มโลก
- ชีวภาค (Biosphere) สิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวโลกทั้งบนบกและในมหาสมุทร
- การเปลี่ยนแปลงสภาวะของโลก (Global Change) การปรับสมดุลพลังงานของโลก
สาระ
ตอบลบ